top of page
DSCF9042.JPG

THE SIAM INTERNATIONAL PIANO COMPETITION

Next
Competition:
2024

Organized every 3 years, this competition is a result of a 30-year-long tradition in competition organizing. This competition was first known as "Nat Studio Piano Competition". Then, upon the 8th Nat Studio Piano Competition the organizing commitee agreed to transform it into "the First Siam International Piano compeition", making it the initiation of the international legacy. With this competition, we try our best to privde the best environment for all young pianists participating in the competition from the instruments to the members of jury that comes from all around the world.

Nat Studio จัดการแข่งขันเปียโนนานาชาติทุกๆ 3 ปี การแข่งขันนี้ ถึงแม้จะยกระดับเป็นระดับนานาชาติมาได้เพียง 2 ครั้ง แต่ก็ได้เริ่มจัดมาในระดับประเทศมาเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว โดยเป็นการแข่งขันที่มุ่งเน้นที่จะส่งเสริมศักยภาพการเล่นเปียโนของนักเรียนเปียโนทุกคน และการแข่งขัน Siam International Piano Competition นี้ เราก็พยายามสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดให้แก่ผู้เข้าแข่งขันทุกคน ทั้งแต่เครื่องดนตรี และสถานที่แข่งขัน ไปจนถึงกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มาตัดสินหลายๆท่าน ที่มาจากหลากหลายประเทศทั่วโลก

Objectives

จุดประสงค์

1. To encourage musical competence and raise the international standards of the youth

         

Since 1985, Nat Studio has been determined to encourage musical competence within the youth between the ages of 7 - 18 in order to enhance an outstanding ability in piano performance to international standards. Its ultimate success can be highlighted in its triennial Nat Studio Piano Competition that has been held for the past 26 years. Considering the success of the 8th piano competition in 2006, it is unquestionable that Thai students’ abilities have reached a significantly advanced level. It is possible to expand the competition to wider scope. Thus, the First Siam International Piano Competition was held in 2009

 

2. To popularize H.M. The King’s music

 

In the 2nd round, each contestant will play a compulsory composition by H.M. the King, chosen for each category. By doing so, this will reveal the supreme mastery of His Majesty in the field of composition to the rest of the world. At the same time, it will help young pianists to deeply appreciate the beauty of H.M. The King's music.

 

3. To promote cultural diversity and friendship among individuals in classical piano music circle

     

We are determined to encourage friendship and hospitality among contestants. We believe that friendship and cooperation sparks all creativity. Not only will it assure the contestants’ comfort and confidence and thus allowing them to perform to their fullest potential, but it will also create a positive impression upon their return to their country. Friendship and cultural diversity will help broaden their horizon thus allowing for further knowledge and understanding of one another. This does not only affect the young contestants, but also parents and teachers as well. Eventually, this may help to significantly spread the interest in piano music to many other youth groups.

 

4. To create individuality in the youth

       

Winning the competition is not the ultimate goal of this event, it is what you achieve through the course of facing your challenges; that is the most important thing. Naturally when each contestant is faced by the harsh reality of winning and losing, triumph and disappointment, one must learn to understand and accept the results, like in sport. One must learn to take advantage of their failure and use it as a tool to encourage themselves to improve for the better.

เพื่อส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานความสามารถทางดนตรีของเยาวชนในระดับนานาชาติ    

          เนื่องจาก ณัฐ สตูดิโอ มีความมุ่งมั่นที่จะให้การแข่งขันเป็นสื่อในการกระตุ้นให้นักเปียโนรุ่นเยาว์ อายุระหว่าง 7-18  ปี ได้ฝึกฝนความรู้ความสามารถทางด้านเปียโนให้ดีทัดเทียมนานาชาติ จึงจัดการแข่งขันเปียโนระดับประเทศชื่อ การแข่งขันเปียโนณัฐสตูดิโอ ทุกๆ 3 ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2528– พ.ศ. 2549  ซึ่งได้ช่วยยกระดับมาตรฐานความสามารถทางเปียโนของเยาวชนไทยเป็นอย่างมาก จากประสบการณ์ในการจัดการแข่งขันเปียโนถึง 8 ครั้ง ทำให้เรามั่นใจว่า เยาวชนไทยมีฝีมืออยู่ในมาตรฐานที่สูงและประเทศไทยเราพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันเปียโนสำหรับเยาวชนในระดับนานาชาติได้ยกมาตรฐานนี้ขึ้นและเปลี่ยนชื่อการแข่งขันเปียโนเป็น การแข่งขันเปียโนนานาชาติแห่งสยาม ( The Siam International Piano Competition ) ในครั้งที่1 เมื่อปี พ.ศ. 2552 ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก เห็นได้ชัดจากฝีมือผู้เข้าแข่งขันทุกคน

 

2  เพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพ ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นอัครศิลปิน

        ในการแข่งขันนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะบรรเลงเพลงบังคับ ซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งจะเป็นการเผยแพร่ถึงพระอัจฉริยภาพขององค์พระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักยิ่งของชาวไทยออกไปสู่สากล และเป็นโอกาสดีที่จะเปิดเวทีนานาชาติให้แก่เยาวชนไทยรุ่นใหม่ที่ล้วนแต่มีฝีมือทั้งสิ้น           

 

3 เพื่อเสริมสร้างมิตรภาพ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างผู้อยู่ในวงการดนตรีคลาสสิค สาขาเปียโน  

          จริงอยู่ที่การแข่งขันจำเป็นต้องตัดสินคัดเลือกผู้มีความสามารถสูงสุดในเวลาที่กำหนดให้ แต่ในฐานะผู้จัดการแข่งขัน เรามุ่งมั่นที่จะให้เวทีนี้เป็นเวทีแห่งมิตรภาพ  โดยทำให้ผู้เข้าแข่งขันรู้สึกเป็นกันเอง มีกำลังใจ มีความมั่นใจในการบรรเลงเพลงได้เต็มศักยภาพ และที่ยิ่งไปกว่านั้นคือการที่เยาวชนได้มีโอกาสเปิดโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น ให้ได้พบปะมีมิตรภาพกับเพื่อนๆต่างวัฒนธรรม ซึ่งอาจจะมีเทคนิคการบรรเลงเพลงเปียโนต่างจากเรา จะเกิดการเรียนรู้และจะส่งเสริมให้มีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้อยู่เพียงวงแคบของเยาวชนผู้เข้าแข่งขันเท่านั้น แต่จะกระจายออกไปถึงผู้ปกครองและครูผู้สอนอีกด้วย และจะขยายพลังของดนตรี ทำให้ทุกคนเข้าใจความลึกซึ้งของดนตรีมากขึ้น

 

 เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของเยาวชน 

            ณัฐ สตูดิโอ เชื่อว่าชัยชนะจากการแข่งขันไม่ใช่เป้าหมายที่สำคัญที่สุด ผลที่ได้จากการพัฒนาตนเองต่างหากคือสิ่งสำคัญที่สุด คำตัดสินของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเป็นเพียงเครื่องชี้ให้เห็นว่านักเปียโนนั้นๆ ได้พัฒนาความสามารถในการดนตรีมาก – น้อยเพียงใด เมื่อเปรียบเทียบกับนักเปียโนรุ่นเยาว์อื่น ๆ ณ เวลานั้นๆ การแพ้หรือชนะ การผิดหวังหรือสมหวังนั้น เป็นสถานการณ์ปกติที่เกิดขึ้นไม่ว่าการแข่งขันใดๆก็ตาม เยาวชนต้องเตรียมพร้อมที่จะเผชิญสถานการณ์ด้วยความเข้าใจ มีน้ำใจเป็นนักกีฬา และเรียนรู้ที่จะนำความรู้สึกของตนนั้นกลับมาเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาความสามารถให้ดียิ่งขึ้นต่อไป


Application Form 
6th Siam International Piano Competition 2024

 

bottom of page